ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : มะพร้าวห้าวขายสวน#3 ..พระวัดตะไกรหน้าครุฑพิมพ์เส้นน้ำตก



(D)


วัดตะไกร พระนครศรีอยุธยา เดิมเรียกว่าวัดตาไกร หรือขุนไกร กรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 60 ตอนที่ 39 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2586
พระวัดตะไกรเป็นศิลปะสมัยอยุธยาบริสุทธิ์ แบ่งกันออกตามการค้นพบคือกรุเก่าและกรุใหม่ ซึ่งมีพิมพ์หน้าครุฑ หน้าฤาษีและหน้ามงคล ทุกองค์จะมีรูไม้เสียบที่ข้างล่าง แกะพระ

ขึ้นจากพิมพ์ แต่ที่นิยมที่สุดก็คือ หน้าครุฑกรุเก่าเท่านั้นครับ

องค์นี้คือพระวัดตะไกรหน้าครุฑกรุเก่าพิมพ์มีเส้นน้ำตก สภาพอนุรักษ์เดิมๆ ถือว่าสวยครับ มีหน้ามีตาพอเห็น พระองค์นี้เดิมที มีการลงรักปิดทองไว้ตั้งแต่ในกรุ แต่เจ้าของเดิมอยากรู้อยากเห็นพิมพ์พระก็ล้างคราบรักคราบทองออก พอให้เห็นของเป็นไรๆ อยู่บ้าง และพบเนื้อดินเดิมๆสภาพที่ยังไม่ถูกสัมผัสมาก่อน ด้านหลังเป็นลักษณะอูมเรียกว่าหลังเบี้ยไม่ปาดเรียบครับ


โดยคุณ พันชาติ (499)  [จ. 09 พ.ค. 2548 - 09:44 น.]



โดยคุณ พันชาติ (499)  [จ. 09 พ.ค. 2548 - 09:50 น.] #4865 (1/3)


(D)


ถ้าหากไปเจอพระวัดพระไกรหน้าครุฑพิมพ์นี้เราจะมีหลักเกณฑ์ในการดูอย่างไร ลองดูเป็นจุดๆตามที่ชี้เลยนะครับ
จุดที่ 1 พบครีบเนื้อล้นเกินตลอดแนวทางด้านซ้ายและด้านขวาขององค์พระ ในด้านซ้ายขององค์พระจะมีเนื้อล้นมากกว่า ซึ่งคิดว่าคงเกิดจากการแกะพระออกจากแม่พิมพ์
จุดที่ 2 ผ้าสังฆาฏิดูใหญ่ลึก ใต้ผ้าสังฆาฏิ ที่ซอกพระอุระ จะพบ เนื้อเกินเป็นจุด 2 จุดเกิดจากตำหนิในแม่พิมพ์ฃ
จุดที่ 3 เส้นผ้ารัดประคดเป็นเส้นนูนเด่นชัดเจน
จุดที่ 4 มีเส้นร่องตลอดรอบองค์พระ คล้ายว่าองค์พระประทับปางมารมิชัยในซุ้ม
จุดที่ 5 ในร่องใต้พระบาทมีเส้นน้ำตก ตลอดแนว ดูๆคล้ายกับประทับพบอาสนะ
ใต้ฐานพระจะเรียบตรงไม่พบรอบปาดและเนื้อเกิน แต่พบรูไม้เสียบเพื่อแกะพระออกจากพิมพ์
สำหรับพุทธคุณพระวัดตระไกรนั้นคนรุ่นเก่าว่า...เป็นพระเลอเลิศด้วยคงกระพันชาตรี เสริมบารมีแห่งอำนาจวาสนา สามารถป้องกันเขี้ยวงาจากสัตว์ร้ายนานาชนิด ว่ากันว่าเทียบ

กับพระกริ่งคลองตะเคียนได้เช่นกันครับ...
องค์นี้มีดีกรีติดรางวัลที่ 2 งานสมาคมตั้งศรี นครปฐม 8 พฤษภาคม 2548

โดยคุณ เอ_วัดเสด็จ (5.1K)  [จ. 09 พ.ค. 2548 - 12:26 น.] #4868 (2/3)
เยี่ยมาครับพี่เสี่ยพัน

โดยคุณ เอกจิตต์ (1K)  [จ. 09 พ.ค. 2548 - 23:20 น.] #4874 (3/3)
ดีจัง...ได้ความรู้เพิ่มอีกแล้วครับ...

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM