(0)
พระพุทธรูป พระกำแพงสามขา เนื้อสำริด พระบูชาล้ำค่า แห่งเมืองกำแพงเพชร + บัตรรับรอง GPRA







ชื่อพระเครื่องพระพุทธรูป พระกำแพงสามขา เนื้อสำริด พระบูชาล้ำค่า แห่งเมืองกำแพงเพชร + บัตรรับรอง GPRA
รายละเอียดพระพุทธรูป พระกำแพงสามขา เนื้อสำริด พระบูชาล้ำค่า แห่งเมืองกำแพงเพชร + บัตรรับรอง GPRA

พระกำแพงสามขา พระบูชาล้ำค่า แห่งเมืองกำแพงเพชร
เมืองกำแพงเพชร ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโก แห่งสหประชาชาติ ให้เป็นเมืองมรดกโลก ร่วมกับสุโขทัยและศรีสัชนาลัย ย่อมแสดงถึงความสำคัญของเมืองกำแพงเพชร ที่โลกยกย่องว่ามีอารยธรรม วัฒนธรรม และศิลปกรรมอันสูงส่ง มีค่าล้ำมีความเป็นอัตลักษณ์ของตนเอง มาตลอด กำแพงเพชรจึงมีพระพุทธรูปที่ล้ำค่าและมีพุทธศิลป์เป็นของตนเอง อันเป็นเอกลักษณ์สำคัญ ของเมืองกำแพงเพชร เมืองมรดกโลก พระบูชาที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะเมืองกำแพงเพชร องค์นี้คือ พระกำแพงสามขา
พระกำแพงสามขา มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าพระกำแพงขาโต๊ะ เป็นพระพุทธรูปของกำแพงเพชรแท้ๆ สร้างสมัย กำแพงเพชร เป็นเมืองลูกหลวง แห่งอาณาจักสุโขทัย สร้างราวพุทธศักราช ๑๙๐๐ - ๒๐๐๐ พบได้ทั่วไป ในเกือบทุกวัดในเมืองและนอกเมือง กำแพงเพชร มีหลายขนาด ที่ผู้เขียน เคยพบมีตั้งแต่ หน้าตัก สามนิ้ว จนถึง สิบสองนิ้ว เหตุที่เรียกขานว่าสามขาเพราะ แท่นที่ประทับของพระพุทธรูป มีสามขา เพราะมีด้านหน้าสอง ขา และด้านหลังหนึ่งขา รวมเป็นสามขา ผู้ค้นพบครั้งแรกๆเมื่อประมาณ ร้อยปีที่ผ่านมา ตั้งแต่กรุพระเมืองกำแพงเพชรยังไม่แตก ระยะแรกๆ ผู้แสวงหาทั้งหลาย เก็บแต่ของมีค่าในกรุพระ เช่น เครื่องเงิน เครื่องทอง เพชรนิลจินดา พระกำแพงสามขาและพระบุชา ตลอดจนพระเครื่อง ไม่เป็นที่ต้องการของผู้แสวงหา เมื่อราวร้อยปีกว่า (๒๔๓๐ถึง ๒๔๕๓) ที่ผ่านมา พระบูชาเริ่มมีผู้สนใจเก็บไปเป็นสมบัติส่วนตัวมากขึ้น พระกำแพงสามขา ค่อยๆหายไป ในช่วงปี ๒๔๕๐ -ถึง๒๔๗๐ คติที่ว่า “พระควรอยู่วัด” หายไปจากความเชื่อ พระบูชากลายเป็นที่ต้องการของผู้แสวงหา มากขึ้น เมื่อพระบูชา หมดไป จากกรุ พระเครื่อง เริ่มหายากมากขึ้น ในที่สุด ในราวปีพุทธศักราช ๒๔๗๐ ถึงปี ๒๔๙๐ พระเครื่อง ก็กลายเป็นสมบัติ ของนักแสวงหา ในหายไปหมดจากกรุ อยู่ในครอบครองของ ข้าราชการและคหบดี ในเมืองกำแพงเพชร ตลอดจนคหบดีและข้าราชการต่างเมืองที่สนใจสะสมพระเครื่องและพระบูชามากขึ้น สนนราคา ของพระราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนคนสามัญจับต้องเป็นเจ้าของไม่ได้
พุทธลักษณะ ของพระกำแพงสามขา ที่พบส่วนใหญ่เป็นปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ขวาวางบนพระชานุ ขวาพระองคุลีทั้ง ๕ ไม่เท่ากัน เหมือน มนุษย์ธรรมดา พระดัชนี ชี้ลงล่างราว ให้แม่พระธรณีเป็นพยาน ในคราวปราบพญามาร พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา หงายพระหัตถ์แผ่งดงาม พระวรกายงดงามพระอุระนูน พระอุระใหญ่เม็ดพระถัน เห็นได้ชัดแม้ข้างซ้ายจะปกคลุมด้วยจีวร แต่ก็เห็นได้ชัดราวไม่ได้สวมจีวรกระนั้น บั้นพระองค์คอดงดงามสังฆาฏิ ด้านหลังยาวจรดฐาน ด้านหน้ายาวจรดพระนาภี อยู่ท่ามกลางพระถัน เบี่ยงมาทางซ้าย พระศอมีรอยหยัก พระหนุเสี้ยม พระพักตร์รูปไข่ พระนลาฎกว้าง พระโอษฐ์ แย้มยิ้มน้อยๆ เหมือนทรงเมตตา กับมวลพุทธศาสนิกชน พระขนงชิดติดกัน โก่งราวคันศร ที่กำลังน้าวยิง พระเนตร มองลงล่างเล็กน้อย งดงาม พระนาสิกเป็นสันงามสมกับพระพักตร์ พระกรรณ ยาวเกือบถึงพระอังสา แนบพระพักตร์ พระศกเม็ดเล็กงดงาม สมกับขนาดพระเศียร เปลวเพลิงเหนือพระเศียรสูง งดงามกว่าพระบูชาทุกแบบ ฐานงดงาม มีความสูง เหมาะกับขนาดของพระกำแพงสามขา ซึ่งนับว่าน่าชม ที่สุด ในบรรดาพระบูชาของเมืองกำแพงเพชร ทุกแบบ พระกำแพงสามขา จึงกลาย เป็นสัญลักษณ์ ของพระบูชา ในเมืองกำแพง ที่ผู้คนที่ชื่นชอบ และสนใจพระบูชา แสวงหา ที่จะได้บูชา กันทุกคน
พุทธคุณ ของพระกำแพงสามขา คนกำแพงเพชร เชื่อว่า มีพุทธคุณ ด้านโชคลาภ แคล้วคลาด ก้าวหน้า และเมตตามหานิยม

คนในชุมชนพื้นที่เชื่อว่า "พระกำแพงสามขา" เป็นพุทธศิลป์ที่งดงามมาก และทรงไว้ซึ่งพระพุทธคุณด้านโชคลาภ ร่ำรวยมั่งมี สุขสงบ ค้าขายคล่องพระกำแพงสามขา จึง มีความหมาย ต่อผู้ต้องการพระบูชา ไปบูชา เพื่อแสดงว่า เป็นพระกำแพง เป็นคนกำแพง และเป็นของดี กำแพงเพชร ไปนิจนิรันดร์
ราคาเปิดประมูล900 บาท
ราคาปัจจุบัน15,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 20 มี.ค. 2567 - 21:59:43 น.
วันปิดประมูล - 23 มี.ค. 2567 - 19:20:45 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลmidori (5.7K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 20 มี.ค. 2567 - 21:59:55 น.



มีกูไว้ไม่จน พระพุทธรูป พระกำแพงสามขา เนื้อสำริด พระบูชาล้ำค่า แห่งเมืองกำแพงเพชร + บัตรรับรอง GPRA


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 20 มี.ค. 2567 - 22:00:14 น.



#"มีกูแล้วไม่จน" พระกำแพงสามขา เนื้อสำริด พระบูชาล้ำค่า แห่งลานทุ่งเศษรฐี จ.กำแพงเพชร

พระพระกำแพงสามขา เนื้อสำริด องค์นี้เส้นสายลายพิมพ์ ติดชัดครบถ้วน เป็นพระดูง่าย ตามมาตราฐานสากล

"ใครมีกูไว้ไม่จน"
ตำนานทุ่งเศรษฐีที่ทำให้ได้รับความนิยมมากกว่ากรุอื่นๆก็คือเรื่องประวัติการสร้างพระ คนส่วนใหญ่เคยได้ยินเรื่องราวของแผ่นลานเงินที่จารึกประวัติการสร้างพระซุ้มกอกรุบรมธาตุ ที่มีบทความตอนหนึ่งว่า " ใครมีกูไว้ไม่จน " ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันมาแต่ยุคโบราณว่า พระมหาเจดีย์องค์นี้นั้นเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราชได้สร้างขึ้นเป็นพุทธบูชา ซึ่งคณะผู้สร้างประกอบไปด้วย พระฤๅษี สมณชีพราหมณ์ พราหมณาจารย์ มาประชุมพร้อมกันจักสร้างพระพิมพ์เพื่อทำการบรรจุเข้าไว้ในองค์พระมหาเจดีย์เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา

พระในสกุลกำแพงเพชรนั้น มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงิน ในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๒ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี แห่งวัดระฆังฯ ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ
ที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชรมีอยู่ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระและอุปเท่ห์การอาราธนาพร ะ รวมถึงพุทธานุภาพที่มหัศจรรย์อย่างยิ่งของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่น่าเชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระกำแพงเพชรนั้นสร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท
เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะได้ทรงรับสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๕ แห่งราชวงศ์สุโขทัยและ ปลุกเสกโดยพระฤๅษี ดังนั้นอายุการสร้างของพระกำแพงเพชรจนถึงปัจจุบันจึงมีประมาณ ๗๐๐-๘๐๐ ปี พระกรุเมืองกำแพงเพชรกำเนิดที่พระบรมธาตุนครชุม
จังหวัดกำแพงเพชร เป็นพระเครื่องอันดับหนึ่ง ของเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน พระเครื่องเมืองกำแพงเพชร เริ่มเป็นที่รู้จักและนิยมกันขึ้นมา ในสมัยของพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕
"พุทธคุณของพระกรุเมืองกำแพงเพชร เน้นหนักทางโภคทรัพย์และ มหานิยม" ผู้ใดมีไว้ในครอบครองจะส่งผลความเจริญก้าวหน้าให้กับชีวิต มีครบเครื่องไม่ว่าเรื่องเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ตลอดจนเรื่องโชคลาภ จนมีคำพูดที่พูดติดปากกันมาแต่โบราณกาลว่า “มีกูแล้วไม่จน” ถ้าไปในที่ต่างๆ อยากกินน้ำ หาน้ำไม่ได้
ท่านให้อาราธนาพระใส่ไว้ในปาก หายอยากน้ำแล ถ้าเอาพระไว้บนศีรษะแล้ว ปืนแลหน้าไม้ยิงมาเป็นห่าฝนก็ไม่ถูกตัวเรา เป็นต้น มีเรื่องเล่าขานต่อๆ กันมาว่า แม้องค์พระจะชำรุดเหลือเพียงครึ่งองค์ หรือแค่เพียงส่วนพระบาทหายไป พุทธคุณพระกำแพง เหล่านี้เชื่อถือกันมาช้านานแล้วตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ฯลฯ

ผู้มีวาสนาได้ครอบครองพระเครื่องเมืองกำแพงฯ มีตำนานเล่าขานกัน มาดังนี้แล ฯ

๑) ก่อนคล้องพระ ให้อาราธนาว่า .. พุทธ สัง มัง คะลัง โล เก ฯ .. พุทธัง อาราธนานัง ธัมมัง อาราธนานัง สังฆัง อาราธนานัง ฯ .. พุทธัง ประสิทธิ เม ธัมมัง ประสิทธิ เม สังฆัง ประสิทธิ เม ฯ แล้ว บริกรรมว่า " อิ ติ ปิ โส ภะ กู รา ติ ฯ " 3 จบ หรือ 7 จบ แล้วตามด้วย " อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ฯ " 3 จบ หรือ 7 จบ จะศักดิ์สิทธิ์ทุกประการแล ฯ

๒.) จะออกผจญข้าศึก ศัตรู หรือ ออกสงคราม ให้ เอาพระใส่น้ำมันหอม หรือน้ำมันงา เสกด้วย นวหรคุณ " อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ฯ " แล้วเอาน้ำมันหอมทาผม จะศักดิ์สิทธิ์ ตามปรารถนาทุกประการแล ฯ

๓) จะให้คงกระพันชาตรี ให้เอาพระสรงน้ำมันหอม แล้วเสกด้วย " อิ ติ ปิ โส ภะ กู รา ติ ฯ " เสก ๓ จบ หรือ ๗ จบ แล้วใส่ในขันสำริด อธิษฐานตามปรารถนาเถิด จะเกิดผลทุกประการ แล ฯ

๔) จะให้เป็นเมตตามหานิยม ใคร่มาตุคาม ให้เอาพระสรงน้ำมันหอมใส่ใบพลูทาตัว จะประสิทธิ์แก่ชนทั้งหลาย แล ฯ

๕) จะให้สง่า เจรจาเป็นที่น่าเกรงขาม เป็นมหาอำนาจ ให้เอาพระใส่น้ำมันหอม แล้วนำน้ำมันหอม ไปหุงขี้ผึ้ง เสกด้วย " อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ฯ " ๗ จบ แล้วใช้ขี้ผึ้งทาปาก

๖) จะให้ค้าขายดี มหานิยม เดินทางไกล ขึ้นรถลงเรือ ให้นมัสการด้วย หัวใจพาหุง " พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ ฯ " แล้ว เอาพระสรงน้ำมันหอม แล้วเสกด้วยพระพุทธคุณ " อิ ติ ปิ โส ภะ กู รา ติ ฯ "๗ จบ จะ ประสิทธิ์ แก่คนทั้งหลายแล ฯ

๗) จะให้สวัสดี สถาพรทุกวัน ให้เอาดอกบัว หรือ ดอกไม้บูชาทุกวัน ปรารถนาสิ่งใดจะสมปรารถนาทุกประการแล ฯ

๘) จะให้ความสูญ ให้เอาพระสรงน้ำมันหอม แล้วเอาด้าย ๑๑ เส้นชุบน้ำมันหอมแล้วนำไปทำไส้เทียนถวายพระ แล้วอธิษฐานตามปรารถนาแล ฯ

๙) ถ้าจะสระหัว ให้เขียนยันต์ไส้เทียนใส่ไส้เทียน ยันต์ตามนี้ ขณะเขียนยันต์ใส่น้ำสระผม ให้บริกรรมคาถาดังนี้
" ทะ ธิ วิ ผะมะ อะ มะ พะ ปะติ พะ มง คุ ฯ อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ฯ "แล้ง เสกด้วยคาถาว่า " นะ โม ฯ ๓ จบ …. แล้วว่า พาหุง " พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ ฯ" แล้วว่า " อิ ติปิโส ภะคะวา มหาเชยยังมังคะลัง " แล้วตามด้วย " นะ มะ นะ อะ นอกอ นะ กะ กอ ออ นอ อะ นะอะกะอัง อุมิ อะมิ มะหิสุตัง สุนะพุทธัง อะสุนะอะ ฯ แล้วว่า " กิริมิทิ กุรุมุทุ กะระมะทะ เกเรเมเท ฯ " เสกแต่ละบทว่า ๓ จบ หรือ ๗ จบ แล ฯ จากนั้นจึงลงมือสระผม แล


 
ราคาปัจจุบัน :     15,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    พร108 (98)

 

Copyright ©G-PRA.COM