(0)
พระมหานาคชินะวร วรานุสรณ์มงกุฏราช วังพญาไท พ.ศ.2532








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระมหานาคชินะวร วรานุสรณ์มงกุฏราช วังพญาไท พ.ศ.2532
รายละเอียดพระมหานาคชินะวร วรานุสรณ์มงกุฏราช

วังพญาไท พ.ศ.2532

องค์เล็กขนาดห้อยคอครับ





จัดสร้างโดย กรมแพทย์ทหารบก วังพญาไท กรุงเทพมหานคร พิธีพุทธาภิเศก วัดบวรนิเวศ สมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานสงฆ์


“พระนาคปรก” ถือเป็นปางพระพุทธรูปที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ในฐานะ ‘พระประจำวันเกิด วันเสาร์’ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปในพระอริยาบถประทับขัดสมาธิ บนบัลลังก์พญานาคแผ่พังพานปกเหนือพระเศียร แต่นอกจากจะเป็น พระประจำวันเกิด วันเสาร์ ยังเป็นพระที่ผู้คนสักการะบูชาเพื่อปลดเปลื้องความเจ็บปวด และความทุกข์ทรมานทางกายของมนุษย์ ให้หลุดพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ จึงเป็นอีกหนึ่งวัตถุมงคลสำคัญที่ช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจพุทธศาสนิกชนคนไทยได้เป็นอย่างดี และนิยมปลุกเสกกันมาตั้งแต่ในอดีต อาทิ พระนาคปรก หลวงพ่อแฉ่ง ศีลปัญญา วัดบางพัง จ.นนทบุรี ปี พ.ศ. 2484 เหรียญพระพุทธสิรินาคเภษัชยคุรุจุฬาภรณ์ (พระพุทธโอสถ) ปี พ.ศ. 2558 และ พระไภษัษคุรุพุทธเจ้า องค์สีขาว หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน ปี พ.ศ. 2560 แต่ทั้งนี้ น้อยคนนักที่จะทราบถึงพุทธประวัติ และพุทธคุณของพระนาคปรก ดังนั้น จึงขอพาทุกท่านไปสัมผัส 5 เรื่องราวของพระนาคปรก ดังต่อไปนี้


- ที่มาของคำว่า “นาคปรก” มาจากพุทธประวัติในช่วงที่พระพุทธองค์ทรงประทับ ณ ใต้ต้นมุจลินท์ หลังจากตรัสรู้แล้ว มีฝนและลมหนาวตกพรำตลอด 7 วันไม่ขาดสาย พญานาคราชมุจลินท์จึงได้ขึ้นจากนาคพิภพ เข้าไปวงขนดรอบ แล้วแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้า เพื่อป้องกันลมฝนมิให้พัดและสาดกระเซ็นมาต้องพระวรกาย


- พระพุทธรูปนาคปรก มีเค้ามูลรากฐานมาจากคัมภีร์ของพระพุทธศาสนานิกายสรวาสติวาท ที่แพร่หลายในอินเดีย เอเชียกลาง และจีน อีกทั้งยังปรากฏในคัมภีร์ของพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งในพุทธศตวรรษที่ 18 อาณาจักรเขมรมีการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนามหายานเป็นศาสนาหลัก และมีการสร้างพระพุทธรูปนาคปรกเป็นพระประธานประดิษฐาน ณ อโรคยาศาลทุกแห่ง ทั่วอาณาจักร ครอบคลุมถึงพื้นที่ส่วนหนึ่งของประเทศไทย ทำให้ชาวไทยได้รับอิทธิพลและเคารพนับถือพระพุทธรูปนาคปรกแห่งการแพทย์จากวัฒนธรรมเขมรโบราณ

- ผู้บูชาพระนาคปรก เชื่อว่าสามารถหายจากโรคภัยไข้เจ็บทางกายและทางใจได้ หากบูชาอย่างถูกต้อง หรือเพียงสัมผัสรูปองค์พระ และในกรณีที่ผู้บูชาเจ็บป่วยร่างกายในบริเวณไหน ให้นำมือไปสัมผัสรูปของพระองค์ที่บริเวณนั้น ก็จะหายจากอาการเจ็บป่วย

- พระปางนาคปรก นิยมสร้างเป็นพระนั่งบนขนดตัวพญานาค แต่หากจะรักษาพุทธลักษณะตามพุทธประวัติจะเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขภายในวงขนดของพญานาคที่สูงจนบังพระวรกายมิดชิด เพื่อป้องกันฝนและลม โดยจะเห็นได้ก็เพียงพระเศียร พระศอ และพระอังสา ตัวอย่างเช่น พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร รัชกาลที่ 6 ซึ่งประดิษฐาน ณ หอพระ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน400 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 07 เม.ย. 2566 - 21:16:28 น.
วันปิดประมูล - 10 เม.ย. 2566 - 20:32:50 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลconstitute (123)(1)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     400 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Swaha (406)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM