(0)
วัดใจ 100 บาท พระปิดตาไม้โพธิ์ หลวงพ่อโนรี วัดโพธิ์มอญ รับประกันแท้ดูง่ายสบายตา รับประกันตามฏ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องวัดใจ 100 บาท พระปิดตาไม้โพธิ์ หลวงพ่อโนรี วัดโพธิ์มอญ รับประกันแท้ดูง่ายสบายตา รับประกันตามฏ
รายละเอียดเงื่อนไขการรับประกันพระเคร่องแต่ละรายการ
1 พระที่ลงประมูลนั้นประกันแท้ให้ทุกรายการตามกฏกติกาเว็บทุกประการ
2 การประมูลนั้นจะไม่มีการปิดขายให้สมาชิกนอกเว็บราคาเคาะจบแค่ไหนคือแค่นั้นไม่ฮั้วประมูลแน่นอน ซื้อขายกันใสใส ไม่เอาเปรียบกันถ้าพี่รู้จักจะรักผมเอง
3 ผมเป็นสมาชิกใหม่ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ ถ้าสนใสอบถามข้อมลพระเครื่องที่ลงประมูล ติดต่อเอบร์ 0927750251 หรือแอด line มาที่ id monmoo10
4 มีรายการประมูลมากมายคลิกที่รูปค้อนนะครับ ขอให้สนุกกับการประมูลนะครับ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน630 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 22 ก.พ. 2565 - 19:03:21 น.
วันปิดประมูล - 23 ก.พ. 2565 - 19:50:58 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลNanompb23 (70)(3)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 22 ก.พ. 2565 - 19:05:01 น.



ท้าย ( ไม้เก่า แห้งถึงยุค แน่นอนครับ )

พระปิดตาไม้แกะ
หลวงพ่อโนรี
วัดโพธิ์มอญ (วัดโพธิ์โสภาราม) อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
พระปิดตาเนื้อไม้แกะอีกสำนักหนึ่งที่เลื่องลือชื่อ เป็นพระปิดตาของหลวงพ่อโนรี วัดโพธิ์มอญ หรือในชื่อปัจจุบันว่า ‘วัดโพธิ์โสภาราม’ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ในพื้นที่ตำบลคุ้งพยอม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
ความเป็นมาของวัดโพธิ์มอญแห่งนี้ ไม่ปรากกหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่พอจะสันนิษฐานได้ว่าน่าจะสร้างขึ้นในราวต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยจากการตรวจสอบถาวรวัตถุในวัด เช่น ซุ้มประตูวัด เศษอิฐหรือชิ้นส่วนของอิฐโบราณ ตลอดจนหอไตร และมณฑป ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างอยู่ในราวต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ถิ่นฐานบริเวณที่ตั้งวัดโพธิ์มอญ เป็นบริเวณที่ชาวรามัญหรือมอญได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานภายใต้โพธิสมภารนับแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นต้นมา จนกระทั่งในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีชาวมอญอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไทยหลายครั้งหลายหน โดยเฉพาะบริเวณคุ้งพยอม ที่มีชาวมอญอาศัยอยู่หนาแน่น และเมื่อตั้งถิ่นฐานบ้านช่องกันแล้ว จึงได้มีการสร้างวัดเพื่อเป็นสถานที่ประกอบกิจการทางศาสนาประจำชุมชนของตน บริเวณที่สร้างวัดขึ้นมาคงมีต้นโพธิ์เป็นสัญลักษณ์อันสำคัญ จึงขนานนามวัดว่า ‘วัดโพธิ์มอญ’
ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น คือ หอเรียนพระไตรปิฎก อายุกว่า ๘๐ ปี กับหอพระไตรปิฎก อายุกว่า ๙๐ ปี สำหรับหอเรียนพระไตรปิฎกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒ เป็นอาคารไม้ทรงจตุรมุขยอดปราสาท ส่วนหอพระไตรปิฎกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เป็นอาคารไม้แบบฝาประกนลูกฟัก ด้านบนเป็นช่องบานเกร็ด หลังคาทรงมณฑป ด้านล่างมีเสาเดียว มีค้ำยันอยู่ที่มุมทั้งสี่ของอาคาร เป็นที่เก็บพระคัมภีร์ใบลานและพระไตรปิฎก
ในสมัยที่พระอธิการต๊ะเป็นเจ้าอาวาสวัด หลวงพ่อโนรีได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์มอญแห่งนี้ เป็นอาจารย์สอนภาษาบาลีไวยากรณ์ภาษามอญ และวิปัสสนากรรมฐาน
กล่าวสำหรับหลวงพ่อโนรีเป็นพระที่ธุดงค์มาจากประเทศพม่า และได้ผ่านมาทางบ้านคุ้งพยอม ชาวบ้านเห็นวัตรปฏิบัติอันน่าเลื่อมใสศรัทธา จึงนิมนต์ให้จำพรรษาที่วัดโพธิ์มอญ ประกอบกับทางวัดได้เปิดสำนักเรียนภาษาบาลีไวยากรณ์ของมอญขึ้นมา หลวงพ่อโนรีมีความรู้ความสามารถทางด้านนี้อยู่แล้ว เนื่องจากเป็นมอญด้วยกัน จึงรับเป็นอาจารย์สอนในสำนักวัดโพธิ์มอญแห่งนี้
จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่กล่าวว่า ก่อนที่หลวงพ่อโนรีจะเดินทางธุดงค์มาพำนักที่ตำบลคุ้งพยอม อำเภอบ้านดป่ง จังหวัดราชบุรี ได้เคยจำพรรษาที่วัดบางโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี มีความคุ้นเคยกับพระอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม ผู้สร้างพระปิดตาเลื่องชื่อของจังหวัดปทุมธานี
นอกจากนั้นยังคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งเป็นสหธรรมิกกับพระอาจารย์เปิง
มีเรื่องเล่าขานกันถึงอิทธิปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อโนรี ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำของผู้เฒ่าผู้แก่ละแวกวัดโพธิ์มอญว่า
สมัยที่หลวงพ่อโนรีธุดงค์ผ่านมายังวัดโพธิ์มอญนั้น เป็นช่วงเวลาที่กำลังเกิดโรคระบาด ทำให้สัตว์เลี้ยงต่างๆ ทั้งวัว ควาย หมู เป็ด ไก่ ของชาวบ้านล้มตายไปเป็นจำนวนมาก รวมถึงชาวบ้านเอง หลวงพ่อโนรีจึงต้องอยู่โปรดสัตว์ทำน้ำมนต์ให้ชาวบ้านนำไปดื่มกิน จนกระทั่งโรคระบาดสงบลงอย่างรวดเร็ว
หากกระนั้นชื่อเสียงในการทำน้ำมนต์ของหลวงพ่อโนรีก็ระบือไกล มีผู้คนต่างมาขอน้ำมนต์จากหลวงพ่อโนรีกันมากจนแทบไม่มีเวลาพักผ่อน จนกระทั่งหลวงพ่อโนรีต้องไปทำพิธีเงียบๆ ในคืนวันหนึ่งที่ริมแม่น้ำวัด หลังจากนั้นเมื่อมีผู้มาขอน้ำมนต์จากหลวงพ่อโนรี ท่านก็ให้ไปตักเอาที่ริมน้ำหน้าวัดแทน ใช้ได้ผลเช่นเดียวกัน
ยังมีอีกเรื่องหนึ่ง คราวหนึ่งมีพวกโจรจะเข้ามาปล้นชาวบ้านตำบลคุ้งพยอมครอบครัวหนึ่ง ซึ่งมีฐานะร่ำรวย ขณะที่กลุ่มโจรใกล้จะถึงบ้านที่จะเข้าไปปล้นได้พบพระภิกษุรูปหนึ่งยืนขวางไว้ และได้ขอบิณฑบาตอย่าได้ประพฤติชั่วเข้าปล้นผู้คนเช่นนั้นเลย พวกโจรได้แกล้งเชื่อฟังคำของพระภิกษุรูปนั้น หันหลังกลับไป แต่คล้อยหลังไปไม่นานนักก็หวนกลับไปเพื่อจะทำการปล้นบ้านหลังดังกล่าว ขณะจะเข้าไปปล้นได้บังเกิดพายุอื้ออึ่ง มีเสียงฟ้าผ่าลงมาใกล้ๆ ที่พวกโจรอยู่ ทั้งๆ ที่เวลานั้นหาได้มีเมฆฝนตั้งเค้าแต่อย่างใด พร้อมกันนั้นได้มีเสียงเสือคำรามก้องได้ยินไปทั่วบริเวณ ทำให้พวกโจรต่างวิ่งหนีไปอย่างไม่คิดชีวิต
การสร้างพระปิดตาด้วยไม้แกะของหลวงพ่อโนรี จากหลักฐานที่สืบค้นได้กล่าวว่า สร้างขึ้นมาในราวปี พ.ศ. ๒๔๖๐ โดยส่วนใหญ่ของพระปิดตาแกะด้วยไม้รัก แต่อาจมีไม้โพธิ์ปะปนบ้าง มีขนาดแตกต่างกันออกไปหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดประมาณปลายนิ้วหัวแม่มือ ไปจนถึงขนาดใหญ่สำหรับตั้งบูชา
พุทธลักษณะเป็นรูปองค์พระปิดตานั่งขัดสมาธิเพชรเป็นส่วนใหญ่ และมีบ้างที่นั่งแบบขัดสมาธิราบ ลำพระองค์ป้อมล่ำสัน มีผ้าสังฆาฏิพาดผ่านมองเห็นทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีทั้งแบบลงรักปิดทอง และลงรักไม่ปิดทอง ลักษณะการแกะพิมพืเข้าใจว่าคงจะมีการปั้นหุ่นต้นแบบขึ้นมาก่อน แล้วให้ช่างแกะตามแบบหุ่น และช่างแกะคงมีหลายคน เพราะพบเห็นการแกะแตกต่างกันหลายแบบ ที่พบเห็นโดยมากมีรูปลักษณะดังนี้
๑. แบบฐานเล็ก ฐานในแบบนี้มีลักษณะคล้ายเดือย คงจะมีฐานหรือแท่นไม้แยกต่างหาก โดยนำพระมาเสียบหรือสวมลงอีกทีหนึ่งเพื่อตั้งบูชาในที่อันสมควร แบบนี้ส่วนมากจะมีขนาดใหญ่ ลำพระองค์อ้วยพี ด้านล่างบรรจุพระธาตุอุดผงปิดทับด้วยชันโรงใต้ดิน
๒. แบบฐานใหญ่หรือฐานเตี้ย แบบนี้ฐานสลักแบบบัวฟันปลาและฐานเรียบไม่มีบัว ซึ่งมีทั้งปิดทองและไม่ปิดทอง พระเศียรตอนบนมีทั้งแบบเสียรโล้น และแบบมีพระเกศ สุดแล้วแต่ช่างผู้แกะจะมีฝีมือการแกะแต่อย่างใด บางองค์แขนเล็กขาเล็ก บางองค์แขนใหญ่ขาใหญ่
แต่โดยรวมแล้วมีความคล้ายคลึงกันในรูปแบบ ลักษณะ สังเกตได้ไม่ยากนัก และความเก่าดุได้จากความแห้งตัวของเนื้อไม้ ลักษณะของรัก และทองที่ปิดมีความแห้งเก่าเป็นฝ้า


 
ราคาปัจจุบัน :     630 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    zazatop1231 (11)

 

Copyright ©G-PRA.COM