(0)
หลวงพ่อโยก พระของขวัญ วัดจันทรังษี อ่างทอง รุ่นแรก ปี 14 พิธีเดียวกับสมเด็จปากน้ำรุ่น 4 หลวงปู่โต๊ะ วัดประดูฉิมพลีเป็นประธานปลุกเสก








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องหลวงพ่อโยก พระของขวัญ วัดจันทรังษี อ่างทอง รุ่นแรก ปี 14 พิธีเดียวกับสมเด็จปากน้ำรุ่น 4 หลวงปู่โต๊ะ วัดประดูฉิมพลีเป็นประธานปลุกเสก
รายละเอียดพระดีพิธีใหญ่ พ.ศ ลึก น่าเก็บมากมาย สร้างปี 2514 พร้อมรุ่น 4 วัดปากน้ำ เนื้อเดียวกัน ปลุกเสกพิธีใหญ่วัดปากน้ำ โดยมีหลวงปู่โต๊ะ วัดประดูฉิมพลีเป็นประธานปลุกเสก (ส่วนหลวงพ่อโยกก่อนนำกลับมาอ่างทองแวะให้หลวงปู่เทียมวัดกษัตรา จ.อยุธยาปลุกเสกเดียวอีกหนึ่งครั้ง)และหลวงปู่เทียมวัดกษัตราเนี่ย เป็นพระสายเดียวกับหลวงปู่หน่ายวัดบ้านแจ้ง จ.อยุธยาที่ใครก็รู้จักกันทั้งประเทศ พิธีพุทธาภิเษก ปลุกเสกบรรจุวิชาธรรมกายวัดปากน้ำภาษีเจริญเพื่อเข้า อันเป็นระยะเวลาเดียวกัน และเป็นพิธีเดียวกันกับการปลุกเสกพระปากน้ำรุ่น ๔ นั่นเอง
เมื่อได้รับการปลุกเสกพระเครื่องจนครบไตรมาส หรือ ๑ พรรษาแล้ว จึงมีการนำพระเครื่องส่วนใหญ่มาเข้าพิธีพุทธาภิเษกเพิ่มเติมอีก ที่วัดกษัตราธิราชเสร็จแล้วจึงนำมาที่วัดจันทรังษีเพื่อออกแจกจ่ายแก่ผู้สนใจต่อไป ส่วนพระเครื่องอีกส่วนหนึ่งที่เหลืออยู่ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญไม่ได้นำกลับมาด้วยนั้นได้นำเข้าพิธีปลุกเสกบรรจุวิชาธรรมกายอยู่ที่วัดปากน้ำ รวมระยะเวลานานถึง ๘ พรรษา ในด้านประสบการณ์ของพระวัดจันทรังษีก็คงจะมีมากมายไม่แพ้พระเครื่องจากสำนักวัดปากน้ำเช่นกันเป็นแต่ว่ารู้จักกันในวงแคบกว่าเนื่องจากมีการแจกจ่ายกันอย่างเงียบๆ ที่วัดจันทรังษีเท่านั้น
พระผงของขวัญ
ด้านหน้าของพระผงของขวัญที่นายช่างจำลองแบบมาจากหลวงพ่อโยก สาเหตุที่ต้องใช้หลวงพ่อโยกเป็นต้นแบบนั้น มีที่มาตั้งแต่สมัยที่ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำฯ ได้เดินทางมาวางศิลาฤกษ์อุโบสถของวัดจันทรังษี ได้ดำริไว้ว่าหากทางวัดจะจัดสร้างพระเครื่องพระผงขึ้น ขอให้จำลองแบบจากหลวงพ่อโยก เพราะถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่วัด ศิลปะการออกแบบและพิมพ์ทรงขององค์พระจะมีความคล้ายคลึงกับพระปากน้ำรุ่น 4 เป็นอย่างมาก เนื่องจากนายช่างผู้แกะพิมพ์เป็นคนเดียวกัน
ด้านหลังของพระผงของขวัญ ปรากฏตัวหนังสือไทยว่า วัดจันทรังษี อยู่ด้านบนซ้ายขวา ส่วนด้านล่างเป็นอักขระขอม หัวใจตรีเพชรว่า “มะอะอุ”
หาพระผงของขวัญวัดปากน้ำไม่ใด้ราคาเป็นแสนใช้พระวัดจันทรังษีแทนไม่แพ้กันเลยครับ...

พระผงวัดจันทรังษี สร้างขึ้นโดย หลวงพ่อแต้ม ปณฑฺโต วัดจันทรังษี จ.อ่างทอง ท่านเคยมาเล่าเรียนที่วัดปากน้ำภาษีเจริญและฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ดังนั้นเมื่อท่านกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดจันทรังษีแล้วพบว่า วัดอยู่ในสภาพทรุดโทรมท่านจึงได้ดำริที่จะพัฒนาวัดให้อยู่ในสภาพที่ดีขึ้น ท่านจึงนำความดังกล่าวไปปรึกษาพระครูอุปถัมถ์ธรรมกิจ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ อันเป็นลูกศิษย์ และเป็นคนตำบลหัวไผ่เฉกเช่นเดียวกับหลวงพ่อแต้ม โดยนำผงที่สร้างพระของขวัญในคราวแรกจำนวนหนึ่งและได้เสาะหาผงตามตำราลักษณะการสร้างพระผงวัดปากน้ำรวบรวมขึ้นไว้ และได้นำเส้นเกษาของหลวงพ่อปากน้ำมาผสม(โดยมีส่วนผสมของพระของขวัญวัดปากน้ำภาษีเจริญเป็นจำนวนมาก) เพื่อขอผงวิเศษกลับไปสร้างพระพิมพ์และขออนุญาตนำพระที่สร้างขึ้นดังกล่าวมาเข้าพิธีปลุกเสกพระผงของขวัญวัดปากน้ำรุ่นสี่ด้วย สำหรับพิมพ์พระนั้นคุณสมพร สินธุวิชัยเป็นผู้แกะพิมพ์พระถวาย โดยการพิมพ์พระนั้นได้ทำการพิธีผสมผงกดพิมพ์และปลุกเสกโดยพระอาจารย์เถรานุเถรสายธรรมกายในคณะเนกขัมและในโบสถ์วัดปากน้ำภาษีเจริญ

เมื่อได้รับการปลุกเสกพระเครื่องจนครบไตรมาส หรือ ๑ พรรษาแล้ว จึงมีการนำพระเครื่องส่วนใหญ่มาเข้าพิธีพุทธาภิเษกเพิ่มเติมอีก ที่วัดกษัตราธิราชเสร็จแล้วจึงนำมาที่วัดจันทรังษีเพื่อออกแจกจ่ายแก่ผู้สนใจต่อไป ส่วนพระเครื่องอีกส่วนหนึ่งที่เหลืออยู่ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญไม่ได้นำกลับมาด้วยนั้นได้นำเข้าพิธีปลุกเสกบรรจุวิชาธรรมกายอยู่ที่วัดปากน้ำ รวมระยะเวลานานถึง ๘ พรรษา ในด้านประสบการณ์ของพระวัดจันทรังษีก็คงจะมีมากมายไม่แพ้พระเครื่องจากสำนักวัดปากน้ำเช่นกันเป็นแต่ว่ารู้จักกันในวงแคบกว่าเนื่องจากมีการแจกจ่ายกันอย่างเงียบๆ ที่วัดจันทรังษีเท่านั้น

พระผงของขวัญ วัดจันทรังษีมีสัณฐานอยู่ในรูปกลีบบัว ขอบโดยรอบยกสูงเป็นเส้นนูน ภายในตรงกลางจำลองเป็นรูปพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิอยู่เหนืออาสนะเป็นรูปนูนเด่น จำลองจากรูปหลวงพ่อโยกเพราะถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่วัด ศิลปะการออกแบบและพิมพ์ทรงขององค์พระจะมีความคล้ายคลึงกับพระปากน้ำรุ่น 4 เป็นอย่างมาก เนื่องจากนายช่างผู้แกะพิมพ์เป็นคนเดียวกัน ด้านหลังแบนเรียบ จารึกอักษรไทยว่าวัดจันทรรังษีเป็นส่วนลึกตามส่วนโค้ง มีอักษรขอมตอนต่อแถวว่า มะอะอุ หมายถึง พระรัตนตรัย.เนื้อหามีทั้งเนื้อออกขาวจนถึงขาวอมเหลือง มีขนาดสูง 2.9 x 1.8 ซ.ม. มาพร้อมบัตรรับรองพระเครื่องเพื่อยืนยันความแท้และไม่มี หัก ซ่อมใดๆ และเช่นเคยครับ ตามมาตรฐานของนิว พระเครื่อง ซึ่งแท้อย่างเดียวนั้นยังไม่พอ ต้องสวยหมดจรดด้วย โดยเฉพาะพระปีลึกขนาดนี้ แท้ๆ ในราคาต่ำกว่าพระออกใหม่ เก็บแล้วสบายใจแน่นอนครับ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน300 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 27 ก.พ. 2561 - 16:17:45 น.
วันปิดประมูล - 28 ก.พ. 2561 - 21:08:01 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลนิลพัฒน์ (4.9K)(2)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 27 ก.พ. 2561 - 16:18:19 น.



.


 
ราคาปัจจุบัน :     300 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    sumezt (73)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM