(0)
เหรียญ เจ้าสัวหลวงปู่บุญ รุ่น 2 วัดกลางบางแก้ว (พร้อมกล่องเดิมจากวัดครับ )






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญ เจ้าสัวหลวงปู่บุญ รุ่น 2 วัดกลางบางแก้ว (พร้อมกล่องเดิมจากวัดครับ )
รายละเอียดเหรียญ เจ้าสัวหลวงปู่บุญ รุ่น 2 วัดกลางบางแก้ว สวยเดิมๆ ทุกประการ เขม่าเดิมยังมีให้เห็นกันจะจะอยู่เลย รับประความแท้ยาวๆกันอีกเช่นเคยครับ จะมัวลังเลกันอยู่ใยเล่าครับ ของดีมีไม่มากครับ แบ่งๆ กันไป อนาคตยังอีกไกลครับ เชิญเลยครับ

ประวัติการสร้างเหรียญเจ้าสัว2

การสร้างเหรียญเจ้าสัว 2 ปี พ.ศ.2535 เพื่อสมทบทุนพิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายก การสร้างครั้งนั้นมี พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล เป็นประธานฝ่ายฆราวาส มงคลวัตถุซึ่งทางวัดกลางบางแก้วสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2535 เพื่อเป็นการมอบตอบแทนให้ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคในการสร้างพิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายก ซึ่งมีการดำเนินการ วิธีการและการจัดสร้าง ดังต่อไปนี้

1. เหรียญเจ้าสัว ตำรับหลวงปู่บุญ
เหรียญเจ้าสัว ตำรับหลวงปู่บุญ ซึ่งวัดกลางบางแก้วได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้นในครั้งนี้ได้นำตำรับของหลวงปู่บุญมาปฏิบัติการตามขั้นตอนต่างๆ อย่างครบถ้วน โดยมีท่านพระครูสิริชัยคณารักษ์ (สนั่น) เจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี และเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้วเป็นผู้ดำเนินการ
พระอาจารย์เจือ ปิยะสีโล ศิษย์หลวงปู่เพิ่ม ผู้รับการถ่ายทอดพุทธาคมมาจากหลวงปู่บุญ อันถือว่าได้สืบทอดวิทยาคมมาจากหลวงปู่บุญเป็นผู้จารอักขระแผ่นยันต์ตามตำรับเหรียญเจ้าสัว อันประกอบด้วยยันต์ต่างๆ มากมาย เช่น ยันต์มหาโภคทรัพย์ 109 ยันต์มหาเศรษฐี เรือนเงิน-เรือนทอง ยันต์มหาลาภสังกัจจายน์ ยันต์มหาวาสนาบารมี 16 พระอรหันต์ และยันต์พระพุทธเจ้าตรึงไตรภพ เป็นต้น หล่อหลอมรวมกับชนวนโลหะพระชัยวัฒน์ของหลวงปู่บุญ ตลอดจนตะกรุด ทองคำ เงิน และทองแดงของหลวงปู่บุญ ซึ่งตกค้างอยู่ในกุฏิเก่าของท่าน นอกจากนี้ ยังได้รับชนวนพระสำคัญ และยันต์จากคณาจารย์ต่างๆ มากมายมาร่วมผสมในเนื้อโลหะของเหรียญเจ้าสัวรุ่นนี้ด้วยมากมาย

แผ่นยันต์ ตลอดจนชนวนโลหะทั้งหมด จะทำการหล่อหลอมรวมเนื้อ เพื่อนำไปสร้างเหรียญเจ้าสัวทองคำ เงิน นวโลหะ และทองแดง ในวันอังคารที่ 14 เมษายน 2535 เวลา 07.19 น. อันได้ตำแหน่ง “มหัทธโนฤกษ์” คือ “ฤกษ์แห่งผู้มีทรัพย์” ณ วัดกลางบางแก้ว ท่ามกลางพิธีกรรมอันถูกต้อง
ลักษณะของเหรียญ เหมือนเดิม ทุกประการ โดยกรรมวิธีการถอดแบบจากองค์ที่งดงามที่สุด ซึ่งมีค่าหลายแสนบาท ด้วยกรรมวิธีการถอดแบบที่ประณีตบรรจง และพิถีพิถันในการหล่อ หลอมจัดสร้างเพื่อให้งดงามสมบูรณ์ทุกเหรียญเสมอเหมือนกัน ด้านหลังเหรียญบรรจุพระคาถามหาโภคทรัพย์ของหลวงปู่บุญคือ “อะระหัง ภควา นะชาลีติ”
หลังจากเปิดจองแล้วได้มีผู้สั่งจองเหรียญเจ้าสัวจำนวนมาก เป้าหมาย ที่ตั้งไว้สำหรับเหรียญเงิน จำนวน 1,500 เหรียญ และเหรียญนวโลหะ 3,000 เหรียญ ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2535 อันเป็นวันกำหนดปิดจองนั้นมียอดสั่งเกินเป้ามากมาย คณะกรรมการจึงสร้างเฉพาะเท่าจำนวนสั่งจอง ซึ่งเหรียญแต่ละชนิดมีจำนวนการสร้าง ดังนี้
1.เหรียญเจ้าสัวทองคำ 700 เหรียญ
2.เหรียญเจ้าสัวเงิน 6,685 เหรียญ
3.เหรียญเจ้าสัวนวโลหะ 7,230 เหรียญ
4.เหรียญเจ้าสัวทองแดง 9,000 เหรียญ
สัญลักษณ์สำคัญหรือ “โค้ด” คณะกรรมการได้ทำการตอกโค้ดสำคัญด้านหลังเหรียญเจ้าสัวทุกเนื้อและทุกเหรียญ เพื่อกันการปลอมแปลงในอนาคต

2. พระผงเจ้าสัว
พระผงเจ้าสัวที่จัดสร้างขึ้นครั้งนี้ ได้ดำเนินการหลังจากเททองเหรียญเจ้าสัวแล้ว ขณะช่างได้ตกแต่งเหรียญเจ้าสัว เนื้อทองคำ เงิน นวโลหะ และทองแดง ได้มีผงตะไบจากเนื้อต่างๆ ซึ่งมีส่วนผสมของยันต์และชนวนสำคัญมากมาย จึงพิจารณาว่าหากนำเอาผงตะไบทองคำ เงิน นวโลหะ และทองแดงนั้นมาเป็นส่วนผสมกับผงเก่าของหลวงปู่บุญที่เหลืออยู่ ก็จะได้พระผงอันมีคุณวิเศษทีเดียว เท่ากับว่า “แขวนเพียงหนึ่งได้ถึงห้า” คือได้ทั้งเนื้อผง เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ และเนื้อทองแดง
3. รูปหล่อหลวงปู่บุญ
รูปหล่อหลวงปู่บุญนั่งขัดเพชร ลักษณะเป็นรูปหล่อโลหะผสมชนวนจากเหรียญเจ้าสัว ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว หลวงปู่บุญนั่งขัดเพชร สองมือยันเข่าทั้งสองข้าง จะทำพิธีหล่อพร้อมเหรียญเจ้าสัว นับเป็นรูปหล่อรุ่นแรกสำหรับลักษณะนั่งขัดเพชร
4. เหรียญ ร.5 “ดวงมหาราช-ปราชญ์ รัตนโกสินทร์”
ด้านหน้าเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ พระพักตร์เฉียงเล็กน้อย ด้านหลังเป็นดวงพระราชสมภพ สร้างขึ้น 2 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ (ทองคำหนักประมาณ 1 บาท) และขนาดเล็ก (ทองคำหนักประมาณ 8 กรัม) รูปเหรียญเป็นรูปทรง ไข่ขนาดงดงาม ฝีมือช่าง โสภณ ศรีรุ่งเรือง บรรจงแกะแม่พิมพ์ได้เหมือนมีชีวิตมาก และโอกาสนี้ได้สร้างแบบพิเศษขึ้น คือ เหรียญทองคำลงยาแบบราชาวดี ซึ่งงดงามมาก มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ซึ่งจะสร้างเฉพาะเท่าที่สั่งจองเท่านั้น ทั้งสองขนาดมีลักษณะเนื้อที่สร้าง และจำนวนการสร้างเท่าๆ กัน ดังนี้
1.เนื้อทองคำลงยาราชาวดี 250 เหรียญ
2.เนื้อทองคำ 250 เหรียญ
3.เนื้อเงิน 1,000 เหรียญ
4.เนื้อนวโลหะ 2,000 เหรียญ
5.เนื้อทองแดง 5,000 เหรียญ
พิธีพุทธา-มังคลาภิเษก คณะกรรมการ ซึ่งมี พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล เป็นประธานการสร้างฝ่ายฆราวาส ได้นำมงคลวัตถุชุดนี้ทั้งหมดไปให้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช แผ่เมตตาจิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นปฐมฤกษ์ จากนั้นในวันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม 2535 ทำพิธีพุทธามังคลาภิเษก ณ โบสถ์วัดกลางบางแก้ว ในเวลา 13.39 น. อันได้ตำแหน่ง “มหัทธโนฤกษ์” คือฤกษ์แห่งผู้มีทรัพย์ โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ เป็นประธานจุดเทียนชัย และได้นิมนต์พระคณาจารย์มาร่วมพิธีพุทธมังคลาภิเษก จำนวน 76 รูป ดังรายนามตามหังสือลานโพธิ์ 967 เดือนมกราคม 2550
ปัจจุบัน เหรียญเจ้าสัว นับถึงวันนี้ก็ผ่านมา 15 ปี เหรียญเจ้าสัว 2 ทุกเนื้อได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง มูลค่าเพิ่มขึ้นตามวันเวลาที่ผ่านไป ข้อควรระวังคือมีของปลอมออกมาหลายฝีมือหลายระดับ มีคนโดนหลอกมาแล้วมากมาย โปรดพิจารณาให้ดีในการแสวงหา

รับประกันความแท้ตลอดชีพครับ
ราคาเปิดประมูล1,400 บาท
ราคาปัจจุบัน1,500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 25 ก.พ. 2551 - 18:51:09 น.
วันปิดประมูล - 01 มี.ค. 2551 - 02:08:37 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลkanchana (538)(1)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 25 ก.พ. 2551 - 18:54:44 น.
.


ตำแหน่งการตอกโค๊ดของแต่ละรุ่นครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     1,500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    little (680)

 

Copyright ©G-PRA.COM